วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตอบคำถาม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ UNIX

1. ความเป็นมาของ UNIX
•บริษัท AT&T ร่วมมือกับ AIT พัฒนาระบบ MULTICS ขึ้นมาในช่วงปี 1960
•MULTICS ทำท่าว่าจะไปไม่รอด AT&T จึงถอนตัวออกจากโครงการ
•นักพัฒนาของ AT&T จึงได้นำความรู้และปัญหาจากโครงการ MULTIC
พัฒนาระบบใหม่แล้วสร้างเป็นระบบปฏิบัติการขึ้นมา และใช้ชื่อว่า UNIX
•ในช่วงแรก UNIX ยังถูกใช้งานกับเครื่อง PDP-7 และ PDP-11 ของ AT&T เท่านั้น
•ในช่วงปี 1973 UNIX ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ภาษา C ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของ UNIX เพราะ
–ทำให้ UNIX สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องหลายชนิด
–แก้ไขระบบได้ง่ายกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่เขียนด้วยภาษา Assembly
– ราคาถูกลง
2. คุณสมบัติของ UNIX
•Software Tool
–โปรแกรมบน UNIX จะแบ่งตัวเองออกเป็นส่วนย่อยๆ และสามารถใช้งานส่วนย่อยเหล่านั้นร่วมกัน ระหว่างหลายๆ โปรแกรมได้
•Portability
–เนื่องจาก UNIX สามารถนำไปใช้กับเครื่องแบบต่างๆ ได้มากมาย โปรแกรมที่ใช้งานบน UNIX จะสามารถนำไปใช้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
•Flexibility
–UNIX มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถนำไปใช้กับงานเล็กๆ หรืองานใหญ่ๆ ก็ได้
•Power
–สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ดี และมีความสามารถในด้านต่างๆ มากกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ
•Multi-user & multitasking
–สามารถมีผู้ใช้งานได้ทีละหลายๆคน และทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน
•Elegance
–หลักการทำงานของส่วนต่างๆ จะเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ทำงานส่วนหนึ่งได้ ก็จะเรียนรู้และใช้งานส่วนอื่นๆ ได้ง่าย
•Network Orientation
–UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการใช้งานเครือข่าย โดยเฉพาะเครือข่าย TCP/IP ซึ่งใช้ในระบบ Internet

3. โครงสร้างของ UNIX
1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์หรือทุกชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถจับต้องได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เม้าส์ ดิกส์ไดรซ์ ซีดีรอม เป็นต้น
2. ยูนิกซ์ เคอร์เนล เคอร์เนล จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการข้อมูลบริการหน่วยความจำ ซึ่งเคอร์เนลนี้จะขึ้นกับฮาร์ดแวร์ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ฮาร์ดแวร์ เคอร์เนลนี้ก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย เป็นต้น
3. เชลล์ คือ ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับตัวเคอร์เนล ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วนำไปแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า command interpreter แต่ถ้ามีการนำ เชลล์หลาย ๆ ตัวมาเขียนรวมกัน (คล้าย ๆ กับ batch file ในระบบปฏิบัติการ DOS) เราจะเรียกว่า เชลล์สคริปต์ นอกจากนี้ เชลล์ (Shell) ยังมีอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ที่นิยมกันได้แก่
Bourne shell (sh) เป็นเชลล์ต้นแบบของทุก ๆ เชลล์ มีความสามารถในการเขียน เชลล์สคริปต์ได้ด้วย
C shell (csh) เป็นเชลล์ที่สร้างหลัง Bourne shell ความสามารถพิเศษของ C shell คือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งที่เคยใช้
Korn shell (ksh) ซึ่งพัฒนาโดย AT&T โดยได้นำคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Bourne shell และ C shell มารวมกัน
Bourne again shell (bash) มีคุณสมบัติและความสามารถคล้ายกับ Korn shell แต่ shell นี้ถูกสร้างขึ้นมาใช้สำหรับแจกฟรี ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทาง Linux นำมาใช้
คำสั่งที่ทำให้ทราบว่าเราใช้งาน เชลล์อะไรอยู่คือ echo $SHELL
4. โปรแกรมประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมการใช้งานเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้แก่ pine เป็นต้น


4. Shell (command Interpreter) ของ UNIX
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel
แปลคำสั่งจากผู้ใช้
คำสั่งสามารถนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่งให้ทำงานเรียกว่า Shell script
กำหนดทิศทางการเข้าออกของ Input/Output
5. ระบบไฟล์และไดเร็คทรอรี
ประเภทของไฟล์
Regular File(-) เป็นไฟล์ปกติที่สร้างจาก Editor หรือสำเนามาจากไฟล์อื่น โดย
Directory (d) เป็นไฟล์ที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ หรือ directory
ใช้สัญลักษณ์ / แทน root directory
Character device file (c) เป็นไฟล์ชนิดพิเศษ เรียกว่า
Block device file (b)
UNIX domain sockets (s) อยู่ใน BSD Unix
Name pipes (p) ของ AT&T
Symbolic link (l)
การตั้งชื่อไฟล์หรือ directory
จะใช้ตัวอักษรใดในการตั้งชื่อก็ได้ ยกเว้นตัวอักษรต่อไปนี้ & * ( ) ; ‘ “ , < > /
ตั้งชื่อได้ยาวไม่จำกัด
ตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่ถือว่าแตกต่างกัน
ในเชลล์จะรับคำสั่งรวม Argument หรือชื่อที่สั่งให้ทำงานได้ไม่เกิน 225 ตัว
การอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูลหรือ directory
ระหว่างชื่อแฟ้มข้อมูลกับ directory หรือระหว่าง directory กับ directory ใช้เครื่องหมาย “/” เป็นตัวคั่น
Absolute Path Name เป็นการอ้างชื่อเต็มของแฟ้มหรือ directory เช่น /unix, /usr/home/seree, /etc/passwd
Relative Path Name เป็นการอ้างชื่อแฟ้มหรือ directory โดยมีการสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบัน
. (current directory)
.. (parent directory)
./office (relative from current directory)
../office (relative from parent directory)
แหล่งทรัพยากร
http://www.compsci.buu.ac.th/~jakkaman/C_Programming/week01(18%20June%2001)/Unix.ppt#351,4,ประวัติความเป็นมาของ UNIX

Linux - www.it-guides.com
ระบบปฏิบัติการ Unix สามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ได้ 4 ระดับ แต่ละระดับก็จะทำ หน้าที่ต่างกัน. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์หรือทุกชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ...www.it-guides.com/lesson2/linux01.html - 4k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

ไม่มีความคิดเห็น: