วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Topology

โทโปโลยี
โทโปโลยีของเครือข่าย (Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ลักษณะทางกายภาพ ( Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้
ประเภทของโทโปโลยี
โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology)
โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
โทโปโลยีแบบเมช (Mesh Topology)

การเชื่อมต่อแบบ BUS
โปรโตคอล Ethernet สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus โดยใช้สาย Coaxial และแบบ Star ใช้สายทองแดงคู่ดีเกลียว (สาย UTP) การเชื่อมต่อแบบ Bus จะเป็นตามมาตรฐานของ 10Base2 เป็นรูปแบบเชื่อมต่อสายโดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) มีเส้นศูนย์กลาง ? นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร บางทีก็เรียกสาย Coaxial ว่าสาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) การเชื่อมต่อแบนี้ไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลาง ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพการทำงานจะไม่ดีเท่าที่ควร วิธีการเชื่อมต่อสายระหว่างจุดต่อจะใช้ตัว T-Connector เป็นตัวกลาง และจะมีหัวต่อ BNC สำหรับต่อเข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก และสิ่งสำคัญจะต้องมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านจากรูปที่ 2.13 ก. เป็นรูปการเชื่อมต่อสาย Coaxial เข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก โดยมีตัว T-Connector เป็นตัวกลาง โดยมีความยาวของสายในแต่ละช่วงจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร และมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านอีกด้วยปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ Bus ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะมีความเร็วต่ำเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีและข้อจำกัดด้านความยาวของสาย

ข้อดี-ข้อเสีย ของBUS Topology
ข้อดี
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อเสีย
การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ
ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้



การเชื่อมต่อแบบ Star

การเชื่อมต่อแบบ Star จะเป็นตามมาตรฐานของ 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band จะใช้สาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) ปัจจุบันนิยมใช้การเชื่อมต่อแบบนี้มากที่สุด


ข้อดี-ข้อเสีย ของStar Topology
ข้อดี
- ง่ายในการให้บริการ
- อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่ง 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ในระบบไม่มีผลกระทบต่อการทำงานในจุดอื่นๆ
- ตรวจหาข้อผิดพลาดได้ง่าย
ข้อดี-ข้อเสีย ของStar Topology
ข้อเสีย
ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก
ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดการเสียหาย จะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถจะทำงานได้

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)


โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่มเช่นกัน


ข้อดี-ข้อเสีย ของRing Topology
ข้อดี
ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อดี-ข้อเสีย ของRing Topology
ข้อเสีย
ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้
ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด

โทโปโลยีแบบเมซ (Mesh Topology)


โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น
โทโปโลยีแบบเมซ (Mesh Topology)

ข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ (Mesh Topology )

ข้อดี

ของการเชื่อมต่อแบบเมซคือ การมีเส้นทางสำรองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญเท่านั้น

ข้อเสีย

ก็คือการเชื่อมต่อหลายจุด

คำถาม